D/E RATIO สำคัญอย่างไร
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ D/E Ratio สำคัญอย่างไร
เมื่อ SMEs ขอสินเชื่อกับธนาคาร D/E Ratio เป็นอัตราส่วนพื้นฐาน ที่ทางธนาคารจะดูเป็นสิ่งแรกๆเลย อัตราส่วนนี้จะบอกว่ากิจการมีความเสี่ยงทางการเงิน มากน้อยเพียงใด และหากนำอัตราส่วนมาเปรียบเทียบกันหลายๆปี ก็จะเห็นถึงแนวโน้มความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
โดยทั่วไปธนาคารจะดู D/E Ratio เท่ากับ 1 เท่า หรือ บางบริษัท 2 เท่า ก็มองว่าเป็นกรณีทั่วไปของ SMEs
กรณี SMEs ที่ขอสินเชื่อกับธนาคาร ทั้งกิจการที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว หรือ ลักษณะ Project Finance ธนาคารก็ใช้อัตราส่วนนี้ในการวิเคราะห์เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการอนุมัติสินเชื่อด้วย
โดยจะมีการตั้งสมมุติิฐาน
โครงสร้างของเงินทุน : mil THB
Use of fund
ค่าที่ดิน 30
ค่าก่อสร้างอาคาร 70
Total Use of fund 100
Source of fund
กิจการออกเอง 50
เงินกู้ 50
Total Source of fund 100
กรณีนี้ D/E Ratio หลังปล่อยสินเชื่อ เท่ากับ 1 : 1 เท่า
โดยทั่วไปธนาคารจะไม่ให้กู้ทั้งหมดโครงการ เช่น Total investment สำหรับสร้างอพาร์ทเม้นท์ จำนวน 100 ล้านบาท แต่จะให้ share ความเสี่่ยงร่วมกัน คือ ผู้ประกอบการออกเงิน ครึ่งหนึ่ง ธนาคารออกครึ่งหนึ่ง พููดง่ายๆ จะมาจับเสือมือเปล่ากู้หมด 100% คงไม่ใช่
ก็ไม่ให้เบิกเงินกู้ไปทั้งก้อนทีเดียว แต่จะมีขั้นตอนให้เบิกตาม เปอร์เซ็นของความคืบหน้างานก่อสร้าง (Progress งาน) เช่น งานงวดแรกทำฐานรากอาคาร 10% เท่ากับมูลค่างาน 7 ล้านบาท ก็จะให้ผู้ประกอบการเบิกเงินกู้ ครึ่งหนึ่ง คือ 3.5 ล้านบาท อีกครึ่งหนึ่งผู้ประกอบการออกเอง
สำหรับธุรกิจบางประเภท เช่น Project Finance โรงแรม, อพาร์ทเม้นท์ หรือ ศูนย์การค้า ซึ่งจะต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เป็นมูลค่าสูง ขอแนะนำว่าผู้ประกอบการไม่ควรให้อัตราส่วน D/E Ratio สูงเกินไป เพื่อควบคุมความเสี่ยงทางการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความสามารถชำระคืนของกิจการ ถ้าจะให้ดีไม่ควรเกิน 1:1 เท่า และเนื่องจากโดยธรรมชาติ ผลประกอบการในช่วงแรก ที่เพิ่งเปิดดำเนิน จะมียอดขายน้อย และมีค่าเสื่อมราคาสูง หากสินเชื่อที่ต้องมีภาระผ่อนชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นจำนวนมาก อาจทำให้กระแสเงินสดไม่เพียงพอผ่อนชำระ จนส่งผลทำให้เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ได้
เป็นบดความที่มีสาระมากครับผม
ตอบลบ