การแก้ไขปัญหา เงินทุนหมุนเวียนของ SMEs

 

        Solution : การแก้ไขปัญหา เงินทุนหมุนเวียน ของ SMEs

            เมื่อแหล่งเงินทุนจากเจ้าของกิจการ และกำไรจากการดำเนินงานไม่เพียงพอในการหมุนเวียนธุรกิจ  ขอแนะนำให้ SMEs ใช้แหล่งที่มาของเงินทุนจากการกู้ยืม คือ ใช้สินเชื่อจากธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน
            กรณีขาดเงินทุนระยะสั้นตามตัวอย่างในบทความเรื่อง ปัญหาทางการเงินของ  SMEs : Problem
            ขอแนะนำให้ SMEs ใช้สินเชื่อแฟ็กเตอริง (Factoring) เพื่อเสริมสภาพคล่อง
            โดย SMEs เมื่อส่งสินค้าแล้ว + วางบิลเรียบร้อย  นำอินวอยซ์  ใบวางบิล  และเอกสารที่เกี่ยวข้อง  มาทำแฟ็กเตอริง   ก็จะได้รับเงินกู้  advance  เป็นเงินสดไปเลย  ไม่ต้องรอไปเก็บเช็ค หรือ รับเงินโอน ตามระยะเวลา credit term ในอีก 90 วันข้างหน้า
             การใช้สินเชื่อแฟ็กเตอริงจะทำให้ธุรกิจหมุนเวียนวงจรธุรกิจได้เร็วขึ้น  หรือ  เรียกได้ว่าทำได้หลาย cycle ใน 1  ปี
ถ้าตั้งสมมุติฐานว่าทุก  รอบวงจรทำกำไรได้ 10%   หากทั้งปีหมุนเวียนวงจรได้ 5 รอบ  ผู้ประกอบการก็จะทำกำไรได้ 50%(คิดอย่างคร่าวๆ เพราะยอดขายในแต่ละช่วงเวลาอาจแตกต่างกัน เช่น รอบตอน high season ยอดขายอาจเดือนละ 1 ล้านบาท  ในขณะที่ช่วง  low  season ยอดขายอาจตกลงเหลือ เดือนละ  600,000  บาท)
             ดังนั้น ทุก 1 รอบ  ก็จะเพิ่มมูลค่าให้กิจการ (Value of firm) มีการสะสมทุน   การผลิต  การจ้างงานเพิ่มขึ้น  ยังไม่นับรวมถึงการต่อยอดไปอุตสาหกรรมต่อเนื่อง  ทั้ง forward  Linkage (ลูกค้า)  และ backward Linkage (supplier)  ก็จะเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการขับเคลื่อนผลผลิตมวลรวมประชาชาติ 
             ดังนั้น หากมองในเชิงนโยบาย  รัฐควรหาทางส่งเสริมการให้สินเชื่อหมุนเวียน  เช่น  สินเชื่อแฟ็กเตอริงให้กับผู้ประกอบการ  SMEs อย่างจริงจัง  ผู้เขียนขอเสนอให้รัฐหรือหน่วยงานที่วางแผนเศรษฐกิจว่า ควรจัดตั้ง สถาบันการเงินเฉพาะด้าน factoring เพื่อธุรกิจ SMEs  อาจไม่เหมือนกับ  SME Bank ที่ตั้งขึ้นมาแล้ว มีการทำงานแบบภาครัฐ  ไม่ประสบผล และมีหนี้เสียจำนวนมาก  โมเดลคร่าวๆ ขององค์กร รัฐอาจร่วมทุนกับภาคเอกชน  ลองมองดูเอกชนที่ทำธุรกิจแฟ็กเตอริงในประเทศไทย บางแห่งเปิดมานับ 10 -  20 ปี  และมีกำไรด้วย แสดงว่าธุรกิจนี้ไปได้  เพียงแต่รัฐต้องนำสไตล์ของภาคเอกชนเข้ามาใช้มากหน่อย 
              สำหรับหน่วยงานด้านการวางแผนเศรษฐกิจ หรือ ส่งเสริมธุรกิจ SMEs หากนำเรื่องนี้มาขับเคลื่อน ก็น่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ของประเทศ และช่วยให้อัตราการอยู่รอดของ  SMEs สูงขึ้น  เพราะโจทย์ใหญ่ คือ SMEs ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสินเชื่อของสถาบันการเงินได้ โดยเฉพาะรายเล็กๆ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Mismatching fund ปัญหาที่ SMEs ควรหลีกเลี่ยง

SME : EDUCATION ข้อสอบเข้า ป.1 สาธิตราม

ACCOUNT RECEIVABLE