กฏหมายหลักประกันทางธุรกิจ : ใครได้ประโยชน์
แหล่งความรู้ No
frontier of knowledge
ข่าว SME
: Current Issues
กฏหมายหลักประกันทางธุรกิจ
กฏหมายหลักประกัน หรือ พ.ร.บ.
หลักประกันทางธุรกิจ น่าจะเป็นประเด็นใหม่ ที่ ธุรกิจ sme ควรติดตาม
ให้ความสนใจ เพราะอนาคตอาจมีผลกระทบสูงต่อ sme ก็ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการ
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใกล้จะบังคับใช้แล้ว
ดูวัตถุประสงค์ก่อนว่า
ร่างขึ้นมาเพื่ออะไร
ทางราชการประชาสัมพันธ์ว่า เพื่อเป็นการเพิ่มหลักประกัน เพิ่มโอกาส ให้ sme เข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น
และสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงแหล่งทุน
คร่าวๆ คือ
ได้นิยาม เพิ่มเติม ให้หลายอย่าง
ใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้
เช่น ทรัพย์สินที่ใช้ประกอบกิจการ , สินค้า, วัตถุดิบ, สิทธิเรียกร้อง (ลูกหนี้การค้า),
ทรัพย์สินทางปัญญา (แฟรนใชส์,
ลิขสิทธิ์, สิทธิบัตร, ซอฟแวร์)
เข้าใจว่า
เพื่อตอบโจทย์ ที่ว่า sme มักไม่มี
พวกสินทรัพย์ hard
assets อย่างโฉนดที่ดิน
อาคารสำนักงาน โรงงาน ที่จะนำมาจำนองเป็นหลักประกัน ส่วนใหญ่มักเช่าอยู่ หรือ ไม่มีเงินสด
มาเป็นหลักประกันวงเงินสินเชื่อ
แม่งาน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ dbd กระทรวงพาณิชย์
ผู้ที่จะรับหลักประกันได้ต้องเป็น
สถาบันการเงิน เท่านั้น (ส่วนใหญ่ที่ครอบครองตลาดอยู่ก็คือ bank)
แต่งานนี้
ผลอย่างหนึ่ง สถาบันการเงิน ที่เรียกว่า Non
Bank ซึ่ง sme ส่วนหนึ่งพึ่งพาอยู่ อาจต้องเสื่อมถอยไป เพราะไม่ได้เข้าสู่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เนื่องจาก
ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ตีความว่า ไม่ใช่สถาบันการเงิน ที่จะรับหลักประกันได้
ตามกฎหมายนี้ พูดง่ายๆ
ว่าไม่ได้รวมอยู่ในกฏหมายฉบับนี้
Focus ไปที่
ลูกหนี้การค้า ซึ่ง sme ที่ไม่มี assets ไม่เข้าเกณฑ์ bank ก็สามารถนำลูกหนี้การค้า มาใช้บริการสินเชื่อ กับ Non Bank ที่เรียกว่า
factoring/ แฟ็กเตอริง/แฟคตอริ่ง/แฟคเตอริง ได้
แต่ต่อไปตามกฏหมายนี้
เมื่อ Bank ให้ลูกค้าจดทะเบียนหลักประกัน
เช่น บริษัท A จดทะเบียน ลูกหนี้การค้า Tesco Lotus กับ ธนาคาร
หรือ อีกกรณี
ถ้าหากธนาคารให้ลูกค้าจดทะเบียนฯ ครอบไปหมดเลย ทั้งกิจการ
ทั้งลูกหนี้การค้า ฯลฯ
และถ้าหาก
บริษัท A จะมีสินเชื่อ แฟ็กเตอริง กับ Non
Bank ด้วย ก็จะมีปัญหา
เนื่องจากผู้รับหลักประกัน
เช่น ธนาคาร
ถ้าจดลูกหนี้การค้ารายใดไว้
ก็จะถือเป็นเจ้าหนี้มีประกัน มีบุริมสิทธิ์
ถ้ากรณีผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมา
มีการบังคับหลักประกันชำระหนี้
ทางสถาบัน Non bank ในที่นี้ คือ
แฟ็กเตอริง ก็จะเสียสิทธิ์ หรือ
ด้อยสิทธิไป
เนื่องจากไม่ได้อยู่ในกฏหมายนี้
ไม่สามารถรับหลักประกันได้
ยังไม่นับรวมถึงขั้นตอนความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นและ
เพิ่มต้นทุน ของสถาบัน ในการปล่อยสินเชื่อ เช่น
ถ้าจะทำสินเชื่อแฟ็กเตอริง
สำหรับลูกหนี้การค้า Tesco ของบริษัท A ก็ต้องเข้าไปตรวจสอบการจดทะเบียนก่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น
มีการวิเคราะห์ว่าถ้าเหตุการณ์เป็นไปแบบสุดโต่ง ทางราชการไม่ถือว่า สถาบันแฟ็กเตอริง เป็นสถาบันการเงินตามคำนิยาม อาจส่งผลให้ สถาบันแฟ็กเตอริง ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อแฟ็กเตอริงได้อีกต่อไป
หากเป็นเช่นนั้น
ก็น่าเสียดายที่ประวัติศาสตร์ของสินเชื่อแฟ็กเตอริง กว่า 30 - 40 ปี
จะต้องจบลง
ความสำคัญของแฟ็กเตอริงนั้น
ถ้าดูจากตัวเลขแม้จะเป็นส่วนเล็กน้อย
เปรียบเหมือนหญ้าแพรก เมื่อเทียบกับช้างสารอย่างธนาคาร
แต่จะจำนวนอินวอยซ์ที่คาดกว่า 1-2 ล้านฉบับ
ต่อปี ที่หมุนเวียนในระบบ
โดยสถาบันที่ปล่อยสินเชื่อแฟ็กเตอริงปัจจุบัน 13 แห่ง
ก็ได้มีส่วนช่วยเหลือ สนับสนุนให้
ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ sme ได้ขับเคลื่อนต่อไปได้ บางครั้งเป็นที่พึ่งในยามยาก ยามที่จะหันหน้าไปทางไหน ก็ไม่มีใครช่วย จะไปเข้าแบงก์ เพิ่งเปิดมา 2 ปี หรือ
ไม่มีหลักประกัน ก็เด้งออกมา ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
แบงก์มักเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
ก็มีสถาบัน/บริษัทแฟ็กเตอริงนี่แหละที่ยังเปิดโอกาสปล่อยสินเชื่อให้ sme ที่ไม่ผ่านเกณฑ์แบงก์
ด้วยหลักเกณฑ์
ความเข้มงวด ที่ soft กว่าแบงก์ องค์กรที่เล็ก ขั้นตอน ความคล่องตัว
ความยืดหยุ่นสูงกว่า แม้จะกำหนด pricing
สูงกว่าบ้าง
แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก เนื่องจากมีต้นทุนทางการเงินจากการกู้ ไม่ได้รับฝากเงิน
สรุปก็คือ สถาบัน/บริษัทแฟ็กเตอริง มีส่วนเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนของ sme
แต่ถ้าหาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ เป็นไปอย่างที่คาด สถาบัน/บริษัทแฟ็กเตอริง คงต้องจบบทบาทลง โอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนของ sme ต้องถูกปิดไปอีกช่องทางหนึ่ง หากจะวิเคราะห์ว่าใครจะได้ประโยชน์ ในตลาดนี้ ผู้เล่นหลัก คือ แบงก์
ก็ย่อมคุมเกมส์ไว้ได้
สามารถเจรจาให้ sme ไปจดหลักประกันกับแบงก์ได้
เนื่องจากจำเป็นต้องพึ่งพาแบงก์ในการใช้สินเชื่อ (สินเชื่อหลายอย่าง สถาบันอื่นปล่อยไม่ได้ เช่น bank guarantee หรือ L/C
และ
T/R) แบงก์ก็จะขยายขอบเขตหลักประกันได้มากขึ้น
มีอำนาจต่อรองเหนือลูกค้าได้มากขึ้น
มีความมั่นคงด้านหลักประกันมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงลดลง ส่วนทางราชการก็จะมีขอบเขตงานกว้างขึ้น ต้องลงทุนสร้างระบบการจดทะเบียนหลักประกัน
ไม่ว่าจะเป็นระบบ IT ต้องจ้างคนมาทำงานมากขึ้น สามารถควบคุมการจดทะเบียนให้เป็นระบบ และ
จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน
เพราะต้องไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
สำหรับ sme ฝากให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง แบงก์ชาติ กระทรวงการคลัง รวมถึง คสช. และท่านผู้อ่านพิจารณาว่า
การบังคับใช้ พ.ร.บ. จะเพิ่มโอกาส ให้ sme เข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น
และสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงแหล่งทุนได้จริงหรือ และ จะต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกลไก อย่างไร
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น
https://search.google.com/local/posts?q=SAKOL+FINANCIAL+CONSULTING&ludocid=8177642605293296182#lkt=LocalPoiPosts&lpstate=pid:1089057798357994757&trex=m_t:lcl_akp,rc_f:nav,rc_ludocids:8177642605293296182
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น