ลูกสอบเข้า ป.1 (ภาค 2) : ผู้ปกครองจะสอนลูก ป.1 อย่างไร ให้เป็นเด็กดี มีคุณภาพ


SME EDUCATION :

สอนลูก ป.1 อย่างไร ให้เป็นเด็กดี มีคุณภาพ


เมื่อสัปดาห์ก่อนได้เข้าร่วมปฐมนิเทศผู้ปกครอง ป.1 ที่โรงเรียนใกล้บ้าน แห่งหนึ่ง  ซึ่งเด็กเกือบทุกคนในหมู่บ้าน เข้าเรียนโรงเรียนนี้หมด   มีอาจารย์อาวุโสท่านหนึ่งได้พูดเน้นย้ำเรื่องวินัย ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างมาก

: เน้นด้านวินัย


เอาอย่างคนญี่ปุ่นบ้างก็ได้  เขาฝึกตั้งแต่เด็กเลย  เด็กต้องรู้หน้าที่ของตนเอง

อย่างที่โรงเรียนนี้เขาจะให้เด็กท่องศัพท์ภาษาไทย วันละ 10 คำ  ซึ่งใช้เรียนในตำราภาษาไทยนั่นแหละ แต่ให้เด็กท่องสะสมมาก่อน  พอครบสัปดาห์  วันจันทร์หน้า ก็มีทดสอบศัพท์ภาษาไทยซะทีนึง   อันนี้พอเด็กเรียนไปถึงคำนี้  เช่น  ว่าวจุฬา  พอเด็กเรียนไปถึงคำนี้ก็พอจะรู้เรื่องแล้ว ไม่งง (เท่าไร)

สำหรับศัพท์ภาษาอังกฤษก็เช่นเดียวกัน  ท่องวันละคำก็ได้  Monday ,Tuesday, Wednesday……….. พอครบสัปดาห์ ก็มี   spelling Test  ศัพท์ภาษาอังกฤษ  เต็ม 10 คะแนน  ลูกเคยได้เต็มมา 2 – 3 ครั้ง  จะได้รับ รูปดวงอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง  very good  stamp ที่กระดาษคำตอบ

อันนี้ก็เป็นการสร้างวินัยอย่างหนึ่ง เด็กรู้หน้าที่ว่าจะต้องท่องศัพท์ทุกวัน  ทำการบ้านทุกวัน  ต้องทำสะสม เหมือนสะสมความดี   ไม่ใช่การบ้านมาทำตอนเช้า ลอกเพื่อนก่อนส่งครู เหมือนรุ่นพ่อ (555..)   และเมื่อทำดีก็ต้องมีโบนัส สะสมแต้ม มีเงินหยอดกระปุกให้ สำหรับเก็บไว้ซื้อกันดั้ม เป็นการสร้างแรงจูงใจอย่างหนึ่ง

สำหรับญี่ปุ่นเขาจะมอบหมายให้เด็กช่วยกันทำความสะอาดห้องเรียนกันเองเพื่อสร้างวินัย ความเสียสละ  (รุ่นพ่อทำเหมือนกัน เขาเรียกทำเวร เช่น  ขัดพื้นไม้กระดานห้องเรียน  โดยเอาเปลือกมะพร้าวตากแห่งขัดกับเทียนไขผสมน้ำมัน  สมัยนี้ไม่รู้มีหรือเปล่า)

สำหรับลูกเรา ที่บ้าน พยายามมอบหมายงานเบาๆ ให้มีอะไรทำบ้าง   ไม่ใช่ดูการ์ตูน เล่นเกมส์ทั้งวัน   เช่น  หน้าที่รดผักส่วนครัวหน้าบ้านตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน     ซึ่งไม่คอยได้ผลเท่าไร  เพราะลูกจะชวนไปเล่นก่อนเลย พ่อเลยพูดไม่ทัน

: เน้นการเรียนรู้ และ ฝึกปฏิบัติ


เราได้มีโอกาสคุยกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์หลายราย    ก็ยังสงสัยอยูว่าทำไมไทยเราจึงไม่สามารถผลิตรถยนต์เป็นของคนไทยเองเสียที  ในเมื่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ก็มีศักยภาพอยู่พอสมควร

แต่พอมามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ จะเห็นว่าเราไม่ค่อยมีการคิดค้น  พัฒนาเทคโนโลยี  หรือ นวัตกรรม

ยกตัวอย่างญี่ปุ่นในสมัยเอโดะ นั้น  ความเจริญก็ไม่ได้ต่างจากเราในสมัย ร. 5  แต่ต่อมาเขาวิ่งไปไกลไม่เห็นฝุ่น  ในขณะที่เรายังเดินต้วมเตี้ยมอยู่เลย

จะเห็นว่าวิธีการศึกษา หรือ วิธีคิดของคนไทย    ไม่ได้เน้นการคิดค้น  หรือ พัฒนาวิทยาการ

พวกเทคโนโลยี หรือ อุตสาหกรรมเราจึงไม่ค่อยได้มีที่จะสร้างสรรค์ ขึ้นมาเอง มีแต่รับอิทธิพลจากต่างชาติมา

อยางเช่น รถยนต์ อย่างงี้   ซื้อเขามาลูกเดียว  ไม่ได้มีการวิจัย พัฒนา เลย  ประเทศเราจึงไม่ได้เป็นผู้นำทางเทคโนโลยี อุตสาหกรรม แต่อย่างใด แม้กระทั่งเทคโนโลยีทางการเกษตร ซึ่งเราควรมีความถนัด

:เป็นที่มาที่ว่า เราจึงอยากจะฝึกลูกให้เล่น โดยมีการเรียนรู้ประกอบกันไป


ยกตัวอย่างเช่น ได้ตั้งโจทย์คำถามกับลูกว่า  ลูกครับรถโมเดลที่เราเล่นกันนี่ ถ้าจะให้ไปวิ่งในน้ำนี่ได้ไหมครับ  และ ทำอย่างไรครับ      ลูกตอบว่าได้สิครับพ่อ   พ่อ :  งั้นเรามาทดลองทำกันดู

จากนั้นเตรียมอุปกรณ์  ประกอบด้วย  1 )รถ  2)มอเตอร์  3) สายไฟ  4) สวิทช์  5) ใบพัด  6) วัสดุที่ทำให้ลอยน้ำ เช่น  ขวดน้ำพลาสติก หรือ โฟม 7) ถ่ายไฟฉายก้อนใหญ่

จากนั้น ก็มาทดลองฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กัน  แล้วสรุปผลออกมาว่าเราได้ความรู้อะไรจากการทดลองนี้ เป็นต้น

: หรือว่าจะเสริมสร้างประสบการณ์  โดยเริ่มจากความเป็นไทยก่อน  เช่น  นำชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์  ที่ถนนราชดำเนิน ใกล้ร้านอาหารศรแดง   นั่นแหละครับ

ซึ่งพอเข้าไปดู เขาจะแบ่งเป็นเส้นทางที่ 1  เส้นทางที่ 2  และห้องต่างๆ

อย่างเช่น พอเขาได้ดูห้องที่แสดงแบบจำลองวิถีชีวิตคนไทย ในสมัยโบราณ  ว่าอยู่ในเรือนไทยอย่างไร  ตั้งแต่เกิด  ซึ่งต้องใช้หมอตำแย  ไม่มีหมอ ไม่มีโรงพยาบาล  ซึ่งมีโอกาสเกิดอันตรายจากการคลอดสูง  เพราะยังไม่มีวิทยาการทันสมัย  จึงต้องมีกุศโลบายต่างๆ ในการดูแล  เช่น   มีการอยูไฟของผู้คลอดบุตร  มีการโกนผมไฟเด็ก    เด็กก็ มีไว้ผมจุก  ผมแกละ

วงจรชีวิตเติบโตจนออกเรือน  มีครอบครัว จนกระทั่งตาย   ซึ่งมีการเผาศพ กลางแจ้ง  สมัยนั้น ยังไม่มีการเผาตามวัด

ลูกก็จะเห็นถึงวิถีชีวิตคนไทยโบราณ  และ สามารถนำไปคิดต่อยอดได้ว่า จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีขึ้นได้อย่างไร  โดยใช้การต่อยอดด้าน วิทยาศาสตร์ แล เทคโนโลยี  เป็นต้น

อันนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่ง   ที่นิทรรศน์  ยังมีอีกเยอะครับ.  ท่านผู้ปกครอง หาเวลาว่าง เสาร์-อาทิตย์ พาลูกไปชม ดีมากๆ ครับ

: นอกจากนั้น เราอาจนำให้ลูกสนใจธรรมชาติ  ซึ่งจะต่อยอดไปได้ถึงธรรมะในขั้นต่อไป เพราะ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ นั่นเอง


เช่น  พ่อได้ตั้งคำถามลูกว่า  ผักสวนครัวที่ปลูกหน้าบ้านเรา  พื้นที่แคบ  ทำอย่างไรจะปลูกผัก ให้ได้มากๆ ครับ

ลูก :  ก็ปลูกหลายๆ ชั้น เหมือนตึกก็ได้ครับ

พอ : เออใช่   งั้นเรามาลองทำดู

พ่ออาจมอบงานง่ายๆ ให้ลูกโดยให้รดน้ำผักสวนครัว ตอนเช้า ก่อนไปโรงเรียน

ลูกก็จะค่อยๆ เห็นผักที่เขามีส่วนรดน้ำทุกวัน เติบโต  ออกใบ ออกผลให้กิน  เช่น  พ่อครับ  พริกมันเปลี่ยนเป็นสีแดงแล้วครับ  เราเก็บกินได้แล้วใช่ไหมครับ

หรือ ชวนเขาทำ workshop ทดลองวิทยาศาสตร์ ง่ายๆ เช่น  นำเมล็ดถั่วเขียวที่ชวนลูกไปซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตมาด้วยกันนี่แหละ  แล้วลูกลองทำเอง  ลองเพาะ  ให้กลายเป็นถั่วงอก  ว่าจะทำได้หรือไม่ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้  ค้นหาความรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา    

: อีกด้านหนึ่งที่พัฒนาสมอง คือ ชวนลูกเล่นเกมส์  เช่น  พวกบอร์ดเกมส์  ,  หมากฮอร์ส  , หมากล้อม  , เกมส์เศรษฐี, CROSS WORD    


หรือ พาเขาไปชมท้องฟ้า จำลอง  ที่เอกมัย  ลูกจะได้เห็นดวงดาว ต่างๆ  และ เข้าใจได้ว่า โลก มีที่มา ที่ไป อย่างไร  และ มีการพูดถึงโครงการที่ Google สนับสนุนรางวัลให้แข่งขัน ส่งยานไปลงบนดวงจันทร์  ทีมไหน ไปถึงก่อนลงดวงจันทร์ สามารถถ่ายส่งมาโลกได้ และ ยานวิ่งไปได้ 500 ฟุต อะไรซะอย่าง ก็จะได้รางวัลชนะเลิศ ไป  อันนี้ก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าต่อยอด

ที่นี่มีหลายตึก อย่างถ้าเราพาลูกไปตึกสิ่งแวดล้อม  ก็จะมีชั้นที่จัดแสดงนิทรรศการเล่าเรื่องการกำเนิดไดโนเสาร์ วิวัฒนาการต่างๆ

ใจผม ผมว่าเด็กไทยเราก็มีความสามารถ แต่ทำไมการศึกษาไทยเราสู้ต่างชาติไม่ได้ซะที ปฏิรูปการศึกษามาหลายรอบแล้ว ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อผมอีก ซึ่งผมได้ยินท่านคุยเรื่องนี้มานาน เพราะท่านทำงานด้านการศึกษา

                ถ้าผมมองเหมือนบ้านเราเป็นอย่างนี้ใช่ไหม  คือ เด็กก็ต้องแข่งขันเข้าสู่วงจรกระแสหลัก กันไปหมด ต้องแข่งเรียน อนุบาล เข้าประถม แข่งกันเข้ามัธยม  แข่งกันเข้ามหาวิทยาลัย  ก็ต้องแข่งเข้าหมอ  เข้าวิศวะ   สถาปัตย์  หมด  คนที่จะไปเป็นนักวิทยาศาสตร์  นักวิจัย  นักพัฒนา เลยไม่ค่อยมี    ขาดความหลากหลาย   ใครที่จะแหวกแนวไปทางอื่นก็ลำบาก  หาที่เรียนยาก  จบออกมาหางานทำยาก  ไม่มีใครสนใจ  เงินเดือนก็น้อย  ไม่พอกิน

เด็กก็เลยออกไปรูปแบบคล้ายกัน  เอาที่เรียนสะดวก  หางานทำได้   เงินเดือนดี   แทนที่จะให้เด็กไปแนวทางที่เหมาะสมกับเขา ซึ่งอาจไปต่อยอดได้ในสาขาที่ขาดแคลนของประเทศ 

                การศึกษาเราเลยขาดความหลากหลาย ไปตอบสนองวัตถุประสงค์ ไม่กี่อย่าง

                เด็กเราที่จะมาเป็นนักคิด นักวิจัย  นักวิทยาศาสตร์  นักพัฒนา เลยไม่ค่อยมี

อีกโครงการที่น่าสนใจ เห็นที่โรงเรียนลูกติดประกาศ   ฮอนดา  ซุปเปอร์  ไอเดีย  คอนเทสต์

โดยให้เด็กนำเสนอแบบจำลองสิ่งประดิษฐ์

เด็กนำเสนอผลงานในกระดาษก่อนตามจินตนาการ

อันนี้ไม่ได้คิดหวังว่าจะให้ลูกไปแข่งชนะใคร  เพียงนำมาเป็นต้นแบบในการกระตุ้นลูกให้เกิดแนวคิด การสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ ตามจินตนาการที่เปิดกว้าง

                วันนี้ บ่น มาพอสมควรแล้ว  โอกาสหน้า มาเล่าสู่กันฟังใหม่ครับ.  สวัสดีครับ.

 

                *** Created by  Mister Universal

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Mismatching fund ปัญหาที่ SMEs ควรหลีกเลี่ยง

SME : EDUCATION ข้อสอบเข้า ป.1 สาธิตราม

ACCOUNT RECEIVABLE