เศรษฐเกษตรกร : เกษตรกรนำความรูู้ด้านเศรษฐศาสตร์เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ
หลักเศรษฐศาสตร์
กับ การเลือกแนวทาง ทำเกษตรกรรมในประเทศไทย
ประยุกต์จากเป้าหมายของธุรกิจ ในวิชาเศรษฐศาสตร์
ที่ว่าหน่วยเศรษฐกิจต้องการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด maximize profit เป็นเป้าหมายหลัก
แต่ถ้าเป็นการทำเกษตรกรรมในบ้านเรา น่าจะมุ่งเป้าหมายสร้างความอยู่ดี กินดี สูงสุด
หรือ maximize welfare จะดีที่สุด
ก็คือ
ทำมาหารายได้ให้พออยู่ พอกิน
ตามความเห็นผู้เขียนคิดว่า
น่าจะประมาณการมาจากต้นทุน ค่าใช้จ่าย ในการผลิต
รวมถึงการครองชีพของเกษตรกรก่อน ว่าเดือนหนึ่งต้องใช้เงินเท่าไร ปีหนึ่งต้องใช้เงินเท่าไรในการครองชีพ และ ดูว่าจะเลือกปลูกพืชอะไร
มีต้นทุนการปลูกเท่าไร ทำรายได้เท่าไร
โดยห้ามเอาราคาตลาดเป็นที่ตั้งในการตัดสินใจ เช่น
เห็นทุเรียนราคาดี ก็แห่ไปปลูก หรือ
ที่ปลูกอยู่แล้วก็เพิ่มเนื้อที่เพาะปลูก
เพราะต้องการได้รายได้มากขึ้น
มันอาจไม่เป็นอย่างที่คาด เพราะเกษตรกรแห่ปลูกมากขึ้น ผลผลิตก็ล้นตลาด ราคาตกต่ำ
เกษตรกรขาดทุน
พอปีต่อไปหนีไปปลูกพืชอื่น อุปทานลดลง ราคาก็จะดีขึ้น พอปีต่อไปเกษตรกรก็จะหันกลับมาปลูกกันอีก มันจะย้อนกลับไปมาเป็นวัฏจักรอย่างนี้ เกษตรกรที่คิดแบบนี้
ก็จะไม่มีวันลืมต้าอ้าปากได้ ตกอยู่ในภาวะหนี้สินตลอดไป
วิธีการประมาณการ
เช่น ครอบครัวเกษตรกร มีสมาชิก 4 คน มีค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่าอาหาร
ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ
ถ้าให้ค่าอาหารคนละ 50 บาทต่อมื้อ
วันหนึ่งคนละ 150 บาท รวม 4 คน
ค่าอาหารวันละ 600 บาท คิดคร่าวๆ
ว่าค่าอาหารเดือนละ 20,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายอื่นในบ้าน เช่น ค่าน้ำ
ค่าไฟ อีกประมาณเดือนละ 10,000 บาท
รวมหนึ่งเดือน ครอบครัวใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท
คิดเป็นปีละ 360,000 บาท
ทีนี้จะมาปลูกพืชอะไรดีที่จะ
cover ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
ถ้ามองไปที่มัลเบอร์รี่
ซึ่งปลูกได้ทั่วประเทศ ไม่ต้องดูแลมาก ต้นทุนไม่สูง มีตลาดพอสมควร ลงทุนปลูก 100 ต้น ต่อ 1 ไร่
ผลตอบแทนพื้นที่
1 ไร่ จะมีรายได้สุทธิหักต้นทุนเหลือ 30,000 บาท ต่อเดือน หรือ ปีละ 360,000 บาท
ถ้าจะให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายปลูกราว
2 ไร่ ก็แล้วกัน เผื่อรายจ่ายยามฉุกเฉิน + เงินออม
ปลูก 2 ไร่ ก็ทำรายได้สุทธิ ปีละ 720,000 บาท
: ฟังก์ชันการผลิต
คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิต (input) กับ ผลผลิต (output)
ให้เกษตรกร ทดลองหาส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง input
กับ
output
ที่จะเป็นจุดผลิตที่เหมาะสมที่สุด (optimal) เช่น
ที่ดิน ปุ๋ย น้ำ แรงงาน ผลผลิต
1 ไร่ 5
กระสอบ รดเช้า เย็น 1
คน 7,500 ก.ก.ต่อปี
ทดลองไปเรื่อยๆ จะกว่าจะได้ส่วนผสมที่ดีที่สุด
ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ การประหยัดจากขนาดการผลิต Economy of Scale เข้ามาช่วย เช่น
ใช้แรงงาน 1 คน ต่อไร่
ค่าแรง 400 บาทต่อวัน
แต่ถ้าขยายพื้นที่เพาะปลูกเป็น 2 ไร่
ต้นทุนค่าแรงเฉลี่ยจะลดลงจาก 400 บาท ต่อไร เหลือ
200 บาทต่อไร่
แต่ถ้าเพิ่มปัจจัยการผลิตมากเกินไป เช่น เพิ่มแรงงานมากเกินไป
จนต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่
เพิ่มขึ้น อันนี้จะกลายเป็น
ความไม่ประหยัดจากขนาดการผลิต Diseconomy
of Scale
สรุป
คือ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน & เศรษฐกิจพอเพียง เดินตามแนวพระราชดำริในหลวง ร. 9
เหมาะสมที่สุดกับเกษตรกรไทยครับผม.
Created by Mister
Universal
สงวนสิทธิ์ โดย Mister Universal ห้ามนำไปเผยแพร่ต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาต.
สงวนสิทธิ์ โดย Mister Universal ห้ามนำไปเผยแพร่ต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาต.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น