เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาที่น่าสนใจ สำหรับ นิสิต นักศึกษา และ ผู้สนใจ
เศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ : กรณีศึกษา
สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน
ที่น่าสนใจ สำหรับ
นิสิต นักศึกษา และ ผู้สนใจ
สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐฯ กับ จีน
จากเหตุการณ์สงครามการค้าที่กำลังปะทุขึ้น ระหว่าง สหรัฐ กับ จีน
โดยล่าสุดสหรัฐจะเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสินค้า 5 พันกว่ารายการ จาก 10% เป็น 25%
นั้นย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ไปยังประเทศอื่นๆ
ทั่วโลก เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
อาจก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้
เบื้องต้นต่างก็ตั้งกำแพงภาษี เข้าตอบโต้กัน ฝ่ายจีนก็ขึ้นภาษีนำเข้า ตอบโต้เหมือนกัน
หากผู้นำทั้ง 2 ประเทศ คือ
นายทรัมป์ และ นายสีจิ้นผิง
ได้มาเรียนรู้เศรษฐศาสตร์
โดยไปเริ่มปูพื้นมาจากเศรษฐศาสตร์คลาสสิค
ไล่มาจนถึงเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
ซึ่งแบ่งออกเป็น เศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ และ เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ
ก็จะเข้าใจว่า
สิ่งที่สหรัฐฯ ทำคือการกีดกันการค้า โดยการตั้งกำแพงภาษี สร้าง barrier to entry ซึ่งทำให้การค้าโดยเสรีถูกบิดเบือนไปจากกลไกราคาทางเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายจีน ก็มีมาตรการขึ้นภาษีตอบโต้ เช่นกัน
สถานการณ์ผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ
อาจมี win บ้าง loss
บ้าง
ในแต่ละกรณี
แต่ผลสรุปท้ายสุด คือ ทั้ง 2
ประเทศ loss - loss อย่างแน่นอน
รวมทั้งเศรษฐกิจโลกที่จะต้องผันผวนตามไปด้วย เนื่องจากทั้ง 2
ประเทศมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่สุดในโลก
การเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบสูง
ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องเข้าก่อนใจว่า
ไม่มีใคร ประเทศใด เก่งไปหมดทุกเรื่อง
ไม่มีประเทศใดที่ผลิตสินค้าได้ดีทุกอย่าง ดีกว่าประเทศอื่น ต้นทุนถูกว่าประเทศอื่น เร็วกว่าประเทศอื่น แบบสวยกว่าประเทศอื่น ฯลฯ
แต่ทุกประเทศต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เหมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
ถ้าเราผลิตสินค้าไหนเก่งกว่า ก็นำมาส่งออกไปขาย สินค้าไหนประเทศประเทศอื่นเก่งกว่าเราก็ซื้อเขา เป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน กัน ตามความถนัด
แบ่งงานกันทำ การค้าโลกก็จะขยายตัว เติบโต
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ เช่น ถ้าหากไทยเราผลิตยาไม่เก่ง แต่ปลูกทุเรียนเก่ง
สหรัฐฯ ผลิตยาเก่ง
แต่ไม่มีทุเรียน
ก็ต้องนำสินค้าที่ผลิตได้มาซื้อ
- ขาย แลกเปลี่ยนกัน เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
แต่หากคู่ค้า ใช้มาตรการ barrier
to entry เช่น
ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าอัตราสูง
ประเทศผู้ส่งออกเจอภาษีอัตราสูง ทำให้ต้นทุนเพิ่ม ต้องตั้งราคาเพิ่ม อาจแข่งขันด้านราคาไม่ได้ ธุรกิจต้องล้มไป หรือต้องไปหาตลาดใหม่ ในทางกลับกันผู้บริโภคในประเทศสหรัฐฯ
ก็จะขาดโอกาสจะได้บริโภคสินค้าดีๆ ในราคาที่เหมาะสม ผลกระทบ คือ ทั้ง 2
ประเทศก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศโดยเสรี
และอาจเกิดผลกระทบในทางลบต่อตลาดการค้าระหว่างประเทศ อาจเกิดการหดตัว จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในที่สุด
ก็หวังว่าทั้งสหรัฐฯ
และจีน จะเร่งแสวงหาทางออกร่วมกัน
เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการค้า (ซึ่งก้ำกึ่งว่าจะมีความขัดแย้งด้านการเมือง
ปะปนด้วยหรือไม่)
ไม่ให้กระทบต่อเศรษฐกิจโลกในที่สุด ครับ.
สำหรับประเทศเล็กๆ
อย่างไทย โดยเฉพาะธุรกิจเล็กๆ อย่าง SME ก็ต้องศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
และสร้างแผนฉุกเฉิน หาทางหนี ทีไล่
เตรียมไว้ ครับ.
ตามภาษิตไทยที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทันครับ”.
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าตลาดส่งออกไปสหรัฐฯ หรือ
จีน
ได้รับผลกระทบในสินค้าที่บริษัทเราขาย
เราจะไปหาตลาดใหม่จากไหนมาทดแทน , หรือ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านทางออนไลน์
ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อมาจากทั่วโลกเป็นการกระจายความเสี่ยงออกไป ตลาดไหน
drop ไป ก็อาจมีตลาดอื่นมาชดเชย.
Created
by Mister Universal. 21/5/2019
SAKOL SOLUTION
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น