ดูหนังดังในอดีต ดูหนังให้สนุก แล้วมาย้อนดูเศรษฐกิจ เปิดทีวี ดูภาพยนตร์เก่า เรื่อง Wall Street 2 เงินอำมะหิต Money Never Sleep
เปิดฉากในคุกเลย ปี 2001 ชายคนหนึ่ง พ้นโทษ เจ้าหน้าที่กำลัง
จะคืนของส่วนตัวให้
หลังจากชดใช้กรรมในคุกมา 8 ปี เจ้าหน้าที่พูดกล่าวลาทำนองว่า ไม่ต้องกลับมาอีกแล้วนะโว้ย ตอนแรกกล้องยังไม่จับหน้า ต้องเดาเลยว่าเป็นใคร
เรื่องราวการปั่นหุ้น เซียนหุ้น
ต้องนักแสดงระดับตำนานคนนี้เลย ขอให้ทายว่าเขาคือใคร
เขาคือ เก็คโค
ยอดเซียนนักปั่นหุ้นแห่งวอลสตรีท
ดินแดนที่เงินไม่มีวันได้หลับไหล
มันตื่น อยู่ตลอด และพร้อมที่จะกระโจนไปผสมโรงกับความโลภของผู้คน
ไม่รู้จะเรียกว่าผู้คนในระบบทุนนิยมตกเป็นเหยื่อของมันได้ไหม
อ้าวลืมไป อันนั้นมันเป็นชื่อในหนัง เขาคือดาราจอมบทบาท ไมเคิล ดักลาส นั่นเอง
พอพ้นประตูคุกออกมา ก็เดินอย่างเดียวดายเลย ไม่มีใครมารับสักคน ชี้ให้เห็นถึงสัจธรรมชีวิต
จากอดีตนักเล่นหุ้นชื่อดังระดับตำนานโดนคดีปั่นหุ้น ฟอกเงิน และ ฉ้อโกง จนต้องติดคุก
ภาพตัดมาในอีก 7 ปี ต่อมา คือ ปี 2008 ก็ถึงเวลาฟองสบู่แตก
หลายคนคงจำได้ว่าเป็นปีที่สำคัญปีหนึ่งเลยที่สร้างความล่มสลายให้เศรษฐกิจโลก
โดยเฉพาะเศรษฐกิจอเมริกัน คือ
แฮมเบอร์เกอร์ ไครซิส หรือ วิกฤต sub prime
หนังก็ผูกเรื่องให้สนุกตามสไตล์ฮอลลีวู้ด ในเรื่องมีการประชันบทบาทกับพระเอกหนุ่ม ไชอา ลาบัฟ รับบท เจค มัวร์ Trader ค้าเงิน และนักลงทุน หนุ่ม ที่โด่งดังมาจาก หนัง Transformers โดยมีการแฝงตัวไปทำงานกับนักการเงินใหญ่แห่งวาณิชธนกิจ Churchill Schwartz นามว่า เบร็ตตัน เจมส์ แบบตีสองหน้า เพื่อหวังล้างแค้นให้เจ้านายเก่า ที่มีบุญคุณให้ทุนเรียน
ให้โบนัสเป็นล้าน ชื่อ หลุยส์ ซาเบล แห่ง Keller Zabel Investments ที่เขาต้องหมดตัวจนคิดสั้น โดดให้รถไฟชนตาย เพราะฝีมือการปล่อยข่าวทำลายจากนักการเงินใหญ่ เบร็ตตัน
เจมส์ เพื่อหวังเข้าฮุบกิจการ แถมเจค ยังรักใคร่ชอบพออยู่กับลูกสาวของเก็คโค ชื่อ วินนีย์ เก็คโค
โดยบังเอิญ โดยที่ลูกสาวนั้นไม่ลงรอยกับพ่อมานาน
ที่อยากจะคุยก็คือ ในหนังมีตอนหนึ่งที่ กอร์ดอน
เก็คโค (แสดงโดยไมเคิล ดักลาส) ได้ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัย
เพื่อโปรโมทหนังสือที่เขาเขียน
ในตอนหนึ่งเขาได้พูดถึงบทเรียนทางเศรษฐกิจที่ล่มสลายจากฟองสบู่ทางเศรษฐกิจว่า
เศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้มีการเติบโตมาจากภาคเศรษฐกิจจริง หรือ real
sector ซึ่งก็คือภาคการผลิตสินค้าและบริการเลย แต่เป็นการเก็งกำไรในภาคการเงิน หรือ Financial
Sector เป็นหลัก พูดง่ายๆ เติบโตจากการปั่นราคาและเก็งกำไร พอหุ้นและสินทรัพย์ต่างๆ ราคาตก ก็แตกตื่นเอาตัวรอดโดยการกู้เงินเพิ่มเข้าไป ถ้าขายก็เจ็บตัว ไม่ขายก็ล้มละลาย ก็ยิ่งซ้ำเติมให้ปัญหายิ่งทรุดหนัก โดยเรื่องเหล่านี้เกิดจากความโลภเป็นหลัก
พระเอกหนุ่ม เจค มัวร์ ก็เข้ามานั่งฝังบรรยายด้วย
เรื่องนี้
ทำให้ย้อนถึงไปถึงเนื้อหาวิชาที่ผู้เขียนเคยเรียนมาทางด้านเศรษฐศาสตร์เมื่อราว 30
ปี มาแล้ว
หากนำมาวิเคราะห์กับเศรษฐกิจยุคปัจจุบันของไทย
เราจะพบว่า ภาคเศรษฐกิจจริง (Real sector) และ ภาคเศรษฐกิจการเงิน (Financial Sector) นี้มีความเชื่อมโยงกันตลอดเวลา
และเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไปสู่เป้าหมายทางเศรษฐกิจ หรือ ความอยู่ดี
กินดีของประชาชน
แต่สิ่งท้าทายสำหรับยุคนี้ คือ
มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมทางการเงินที่ผันแปรไป การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ บนโมบาย
การค้าอีคอมเมอร์ซ พวกผู้ประกอบการฟินเทคต่างๆ
ที่จะเข้ามา disruption ธนาคาร/สถาบันการเงินใหญ่ๆ การให้สินเชื่อแบบดิจิทัล กำลังเริ่มเกิดในประเทศไทย ทั้งการให้กู้ – การกู้ โดยตรงผ่าน
peer to peer lending (ไม่ต้องไปกู้ที่แบงก์แล้ว)
หรือ ลักษณะ crowdfunding
สิ่งเหล่านี้จะส่งผลถึงความเชื่อมโยงของระบบการเงินไปสู่
ภาคการเงิน ซึ่งก็คือ ภาคธุรกิจ และ
ภาคครัวเรือนอย่างไร
มีผลดี ผลเสียอย่างไร และ
เราในฐานะที่เป็นประชาชน คนกินเงินเดือน เป็นเกษตรกร เป็นพ่อค้า
แม่ค้า หรือ เป็น
ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องปรับตัวอย่างไร
นี่คือคำถาม/ประเด็นมากมายที่ผุดขึ้นมา
แต่ถ้ามองในด้านปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ อัตราความเร็วการหมุนของเงินย่อมต้องเร็วขึ้น
เช่น
เราไปซื้อของที่ตลาดนัดแม่ค้าบอกไม่ต้องจ่ายเงินสดก็ได้ ใช้ Scan QR Code เงินไหลจากบัญชีกสิกรไทยของผู้ซื้อ ไปเข้าบัญชี SCB
ของผู้ขาย
จากนั้นแม่ค้าต้องโอนเงินไปจ่ายค่าของกับคู่ค้าบัญชี BBL ผ่านโมบายแบงก์กิ้ง
เงินจะไหลจากคนที่ 1 ไปสู่ คนที่ 2
ไปสู่ คนที่ 3 ในเสี้ยววินาที
ถ้าอย่างนั้น คิดเล่นๆ ว่ามันจะมีผลกระทบต่อนโยบายของทางการ อย่างเช่น นโยบายการเงินไหม ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลของนโยบายจะได้รับผลกระทบไหม
อีกด้านหนึ่งนอกจากได้ประโยชน์ด้านความสะดวกสบาย
รวดเร็วในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยมีต้นทุนที่ลดลง
เราก็ต้องมองว่าทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมา
แม้กระทั่งการใช้เงินดิจิตัลในอนาคต อาจมีความผันผวนสูง จนนำไปสู่หายนะภัยต่อมูลค่าสินทรัพย์ เกิดภาวะฟองสบู่ได้
ในยุคอดีตนั้น
เกิดความเสี่ยงภัยจากการเก็งกำไรหุ้น
อสังหาริมทรัพย์ จนเกิดภาวะฟองสบู่
ราคาสินทรัพย์ผันผวน
ล่วงหล่นลงมา ผู้ถือสินทรัพย์ขาดทุน
ล้มละลายเป็นจำนวนมาก
ในอนาคตต้องระวังความเสี่ยงภัยจากเครื่องมื่อทางการเงินใหม่ๆ เช่น
เงินดิตัล จะหาทางบริหารความเสี่ยงอย่างไร
ส่วนตัวผู้เขียนเอง มองว่าประเทศไทยควรโน้มเอียงไปด้านการสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริง
จะเหมาะสมกับพื้นฐานของประเทศไทย และมีความปลอดภัยสูงกว่า โดยเห็นว่าแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 เศรษฐกิจพอเพียง น่าจะเป็นแนวทางที่นำประเทศไทยเดินไปอนาคตได้อย่างยั่งยืน เราคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง คำกล่าวของ หม่อมเจ้าสิทธิพร
กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรไทย (2426-2514)
บทสรุป
ย้อนกลับไปเรื่องอุทาหรณ์ที่ได้จากการชมหนังเรื่องนี้ คือ ต้องระวัง ความโลภ และ
การเก็งกำไร มันจะสร้างความหายนะได้ทั้งในระดับจุลภาค
และ มหภาค
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น