แฟ็กเตอริง หรือ แฟคตอริ่ง : FACTORING สินเชื่อแฟ็กเตอริงเพื่อผู้ประกอบการ SMEs
Factoring : แฟคตอริ่ง : แฟคเตอริ่ง : แฟ็กเตอริง
ผู้ประกอบการ SMEs
สามารถใช้ประโยชน์จากลูกหนี้การค้า ซึ่งเงินทุนไปจมอยู่ 2 เดือน หรือ 3 เดือน ก็แล้วแต่กรณี แปลงให้เป็นเงินสดได้ทันที โดยนำอินวอยซ์
ที่ส่งของ และ วางบิลเรียบร้อยแล้ว
มาโอนสิทธิเรียกร้องให้ สถาบันการเงินผู้ให้บริการแฟ็กเตอริง ทางสถาบันฯ หลังจากตรวจสอบ transaction การซื้อ-ขาย ว่ามีการส่งของเรียบร้อยแล้ว ปริมาณและคุณภาพงานครบถ้วน ตาม P/O เจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ สามารถ verify จากลูกหนี้การค้าได้ว่าจะจ่ายเงินค่าสินค้า
หรือ บริการ ในวันครบกำหนด Credit Term รวมทั้งสามารถแจ้งโอนสิทธิเรียกร้อง ไปยังลูกหนี้การค้าได้ ก็จะจ่ายเงินสินเชื่อ
เรียกว่า เงินAdvance ให้
ทันที ในอัตรา 80% ของมูลค่าอินวอยซ์
หลังจากได้รับเงินกู้มาแล้ว ผู้ประกอบการ จะนำไปจ่ายค่าแรง, ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า ก็แล้วแต่จะจัดสรร ส่วนผู้ปล่อยสินเชื่อก็จะรอจนครบกำหนด Credit Term เช่น 60 วัน
ออกอินวอยซ์ วันที่ 1 เมษายน
ก็ส่งเจ้าหน้าที่ collector ไปเก็บเงินแทนลูกค้า ในวันที่ 31 พฤษภาคม สมมุติอินวอยซ์
มูลค่า 1 ล้านบาท
ณ วันปล่อยสินเชื่อ สถาบันฯ Advance เงิน จำนวน
0.8
ล้านบาท ณ
วันครบกำหนดชำระ
ทางสถาบันเก็บเงินได้ 100% คือ 1 ล้านบาท (ทางเทคนิคต้องมี หัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3% ด้วย เมื่อนำเช็คที่เก็บจากลูกหนี้การค้า เข้าบัญชี
ผ่านเคลียริ่งแล้ว ก็นำมาชำระสินเชื่อที่ปล่อยไปตอนแรก 80% ส่วนเงินที่เหลืออีก 20% หัก
ดอกเบี้ย คิดไปตามจำนวนวันที่กู้
สูตรการคิดดอกเบี้ย = เงินต้น 1 ล้านบาท คูณ
อัตราดอกเบี้ย 10 % ต่อปี
คูณจำนวนวันที่กู้ 6O หาร 365 วัน
ออกมาเท่ากับเท่าไร
ลองกดเครื่องคิดเลขดู
สมมุติให้ง่ายเข้า หัก
ดอกเบี้ยไป 5% ที่เหลือ 15% จำนวน 150,000 บาท ก็คืนลูกค้าเป็นเงิน Refund ไป
ก็เป็นอันว่าจบไป 1 cycle ของวงจรลูกหนี้การค้าครั้งนี้ วงเงินสินเชื่อก็กลับมาว่างอีกครั้ง ผู้ประกอบการก็สามารถใช้ อินวอยซ์ใบใหม่มาใช้สินเชื่อหมุนเวียนอีกได้
หมายเหตุ : (ในทางเทคนิคผู้ประกอบการจะได้เงินกู้ไปไม่เต็ม 80% เนื่องจากมีการหักค่าธรรมเนียมการทำแฟ็กเตอริง
เช่น คิด อัตรา 0.5% ของ มูลค่าอินวอย์ ก็คือ
ล้านละ 5,000 บาท
จะหักจากเงิน advance 0.8 ล้านบาท ลูกค้าจะได้รับเงินสุทธิ ไป 795,000 บาท
เพื่อความสะดวกลูกค้าไม่ต้องหาเงินก้อนใหม่มาจ่ายค่า fee แต่การคำนวณดอกเบี้ยยังคงคิดจากเงินต้น
0.8 ล้านบาท)
ผู้ประกอบการจะนำสินเชื่อแฟ็กเตอริงมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
ขั้นแรก ให้ผู้ประกอบการคัดลูกหนี้การค้ารายที่เป็น Top ของกิจการ มีจำนวนเงินที่ต้องไปจมอยู่มาก หรือ เครดิตเทอมยาว เช่น 120 วัน หรือจะสั้นกว่านั้นก็ได้
เช่น
30
วัน , 60 วัน,
90 วัน มีประวัติการชำระที่ดี ตรงตามกำหนด ไม่มีปัญหา ก็นำมาโอนสิทธิเรียกร้องให้สถาบันการเงิน จะเป็นการช่วยผู้ประกอบการลดภาระในการบริหารจัดการ Portfolio ลูกหนี้การค้า เพราะทางสถาบันฯ จะเป็นตัวช่วยในการติดตามลูกหนี้การค้าให้
โดยทำงานร่วมกับผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวหลักเนื่องจากเป็นคู่ค้ากันโดยตรงกับลูกหนี้การค้า รวมทั้งทุกสิ้นเดือนจะมี report แสดงสถานะการใช้วงเงินสินเชื่อ แจ้งเป็น statement ให้ลูกค้าทราบ คือ เป็นการใช้สถาบันแฟ็กเตอริง เป็นตัวช่วย monitor ลูกหนี้การค้าได้
ก่อนจะขายให้ลูกหนี้การค้ารายใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย ก็ส่งรายชื่อให้สถาบันฯ ตรวจเช็คดู ฐานะการเงินก่อน หากสถาบัน
ไม่ปล่อย ทางผู้ประกอบการก็อาจไม่ขายเครดิต ให้ลูกค้ารายนั้นก็ได้ ถือว่าการวิเคราะห์เครดิตไม่ผ่าน เป็นการกลั่นกรองคุณภาพลูกหนี้การค้า ช่วยให้โอกาสเกิดหนี้สูญลดน้อยลง ช่วยเพิ่มคุณภาพสินทรัพย์ของกิจการ
เมื่อเบิกเงินจากแฟ็กเตอริงได้แล้ว ก็นำเงินไปซื้อวัตถุดิบได้เลย เช่น ซื้อเงินสดได้ส่วนลด 2% ลด Cost ได้อีกต่างหาก
ประโยชน์อื่นๆ ของแฟ็กเตอริง ใช้ต่อยอดได้อย่างเช่น
ใช้เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เช่น คู่แข่งปล่อยเครดิตเทอมเพิ่มจาก 30 วัน เป็น 60 วัน
ถ้าหากเราอยู่เฉยก็จะสูญเสียตลาดให้คู่แข่ง
เราสามารถเพิ่มเครดิตเทอมเพื่อแข่งขันได้
เนื่องจากเรานำลูกหนี้การค้าไปทำแฟ็กเตอริงได้
จึงสามารถแปลงลูกหนี้การค้าเป็นเงินสดกลับมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจได้ทันที ไม่ต้องรอเก็บเงินนานๆ ไม่เดือดร้อน.
มีคำถามจากผู้ประกอบการว่า ถ้าหากมี P/O จะขอสินเชื่อได้อย่างไร ทุกแบงก์ ทุกคนบอกว่ามีเงื่อนไข ต้องผลิตสินค้า ต้องส่งสินค้าขายให้คู่ค้าเรียบร้อยแล้ว
ตอบลบใช่ครับ เป็นการยากที่จะมีสถาบันการเงินใด ปล่อยสินเชือ โดยใช้ P/O มา back up แต่ขณะนี่้มีความหวังใหม่ให้กับชาว SME แล้ว
ลบถ้าหากจะเปิดบริษัทใหม่ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อแฟคตอริ่ง จะต้องเริ่มต้นอย่างไร รวมถึงรายละเอียดต่างๆต้องทำยังไงครับ
ตอบลบการขอเปิดธุรกิจ factoring ไม่ต้องขอใบอนุญาตผ่านแบ็งก์ชาติ
ตอบลบธปท. ไม่ได้ตีความว่าเป็นสถาบันการเงิน เนื่องจากไมได้รับฝากเงินจากประชาชน แบ็งก์ชาติจึงไม่ได้กำกับควบคุมเหมือน ธนาคารพาณิชย์
เราถือได้ว่าเป็นการให้บริการทางการเงินรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า non-bank ก็ได้
หากอยากจะเปิดธุรกิจนี้ หัวใจสำคัญ คือ การบริหารความเสี่ยง สาเหตุหนึ่ง คือ มีความเสี่ยงสูง และ ไม่มีหลักประกัน มีแต่การโอนสิทธิฯ ในลูกหนี้การค้า ครับ ถ้าทำธุรกิจนี้อย่างเดียวความเสี่ยงจะกระจุกตัวเกินไป ดังนั้น
ส่วนใหญ่ ถ้าไม่ใช่ ธนาคาร (ที่สามารถกระจายความเสี่ยงได้เนื่องจากมีหลายผลิตภัณฑ์ และ สามารถใช้หลักประกันอื่นมา cover ความเสี่ยงได้) หรือ สถาบันที่มีเครือข่ายกว้างขวาง และมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่เข้มแข็ง มักไม่ค่อยทำกัน
อีกกรณีที่พอทำได้สำหรับผู้ที่มีทุนจำกัด คือ ทำโดยจำกัดขอบเขตเฉพาะธุรกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือ ที่รู้จักกันดี ซึ่งเราสามารถควบคุมความเสี่ยงได้
สรุป คือ ต้องตระเตรียมด้าน บุคคลากร, ระบบ ต่างๆ รวมทั้ง ไอ.ที. ,ฐานลูกค้า และ เครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่พร้อมรับมือ ครับ.