แฟ็กเตอริง หรือ แฟคตอริ่ง : FACTORING สินเชื่อแฟ็กเตอริงเพื่อผู้ประกอบการ SMEs

Factoring : แฟคตอริ่ง : แฟคเตอริ่ง : แฟ็กเตอริง

 

       

ผู้ประกอบการ SMEs สามารถใช้ประโยชน์จากลูกหนี้การค้า ซึ่งเงินทุนไปจมอยู่  2 เดือน หรือ 3  เดือน  ก็แล้วแต่กรณี  แปลงให้เป็นเงินสดได้ทันที   โดยนำอินวอยซ์  ที่ส่งของ และ วางบิลเรียบร้อยแล้ว  มาโอนสิทธิเรียกร้องให้ สถาบันการเงินผู้ให้บริการแฟ็กเตอริง  ทางสถาบันฯ หลังจากตรวจสอบ transaction การซื้อ-ขาย ว่ามีการส่งของเรียบร้อยแล้ว ปริมาณและคุณภาพงานครบถ้วน ตาม P/O   เจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ สามารถ verify จากลูกหนี้การค้าได้ว่าจะจ่ายเงินค่าสินค้า หรือ บริการ ในวันครบกำหนด  Credit Term  รวมทั้งสามารถแจ้งโอนสิทธิเรียกร้อง  ไปยังลูกหนี้การค้าได้ ก็จะจ่ายเงินสินเชื่อ เรียกว่า  เงินAdvance ให้ ทันที  ในอัตรา  80%  ของมูลค่าอินวอยซ์

          หลังจากได้รับเงินกู้มาแล้ว ผู้ประกอบการ จะนำไปจ่ายค่าแรง, ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า  ก็แล้วแต่จะจัดสรร  ส่วนผู้ปล่อยสินเชื่อก็จะรอจนครบกำหนด Credit Term  เช่น  60  วัน   ออกอินวอยซ์  วันที่ 1  เมษายน  ก็ส่งเจ้าหน้าที่ collector ไปเก็บเงินแทนลูกค้า ในวันที่ 31 พฤษภาคม สมมุติอินวอยซ์ มูลค่า  1   ล้านบาท  ณ วันปล่อยสินเชื่อ  สถาบันฯ  Advance เงิน  จำนวน   0.8  ล้านบาท    วันครบกำหนดชำระ  ทางสถาบันเก็บเงินได้  100%  คือ  1   ล้านบาท (ทางเทคนิคต้องมี หัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3% ด้วย  เมื่อนำเช็คที่เก็บจากลูกหนี้การค้า  เข้าบัญชี  ผ่านเคลียริ่งแล้ว ก็นำมาชำระสินเชื่อที่ปล่อยไปตอนแรก   80% ส่วนเงินที่เหลืออีก 20%  หัก  ดอกเบี้ย คิดไปตามจำนวนวันที่กู้
     สูตรการคิดดอกเบี้ย  =  เงินต้น  1  ล้านบาท คูณ  อัตราดอกเบี้ย 10 % ต่อปี คูณจำนวนวันที่กู้  6O หาร 365 วัน
                                    ออกมาเท่ากับเท่าไร  ลองกดเครื่องคิดเลขดู
     สมมุติให้ง่ายเข้า หัก ดอกเบี้ยไป  5%  ที่เหลือ  15% จำนวน 150,000 บาท  ก็คืนลูกค้าเป็นเงิน Refund ไป ก็เป็นอันว่าจบไป 1 cycle ของวงจรลูกหนี้การค้าครั้งนี้  วงเงินสินเชื่อก็กลับมาว่างอีกครั้ง  ผู้ประกอบการก็สามารถใช้         อินวอยซ์ใบใหม่มาใช้สินเชื่อหมุนเวียนอีกได้
     หมายเหตุ : (ในทางเทคนิคผู้ประกอบการจะได้เงินกู้ไปไม่เต็ม  80%  เนื่องจากมีการหักค่าธรรมเนียมการทำแฟ็กเตอริง เช่น คิด อัตรา 0.5% ของ มูลค่าอินวอย์  ก็คือ  ล้านละ 5,000 บาท  จะหักจากเงิน advance  0.8  ล้านบาท ลูกค้าจะได้รับเงินสุทธิ ไป  795,000  บาท  เพื่อความสะดวกลูกค้าไม่ต้องหาเงินก้อนใหม่มาจ่ายค่า fee แต่การคำนวณดอกเบี้ยยังคงคิดจากเงินต้น   0.8  ล้านบาท)

     ผู้ประกอบการจะนำสินเชื่อแฟ็กเตอริงมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร



      ขั้นแรก ให้ผู้ประกอบการคัดลูกหนี้การค้ารายที่เป็น Top ของกิจการ มีจำนวนเงินที่ต้องไปจมอยู่มาก หรือ เครดิตเทอมยาว  เช่น  120  วัน หรือจะสั้นกว่านั้นก็ได้  เช่น  30 วัน , 60 วัน, 90 วัน    มีประวัติการชำระที่ดี  ตรงตามกำหนด  ไม่มีปัญหา  ก็นำมาโอนสิทธิเรียกร้องให้สถาบันการเงิน  จะเป็นการช่วยผู้ประกอบการลดภาระในการบริหารจัดการ Portfolio ลูกหนี้การค้า   เพราะทางสถาบันฯ จะเป็นตัวช่วยในการติดตามลูกหนี้การค้าให้ โดยทำงานร่วมกับผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวหลักเนื่องจากเป็นคู่ค้ากันโดยตรงกับลูกหนี้การค้า  รวมทั้งทุกสิ้นเดือนจะมี report แสดงสถานะการใช้วงเงินสินเชื่อ  แจ้งเป็น  statement ให้ลูกค้าทราบ  คือ เป็นการใช้สถาบันแฟ็กเตอริง เป็นตัวช่วย  monitor ลูกหนี้การค้าได้

      ก่อนจะขายให้ลูกหนี้การค้ารายใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย  ก็ส่งรายชื่อให้สถาบันฯ ตรวจเช็คดู ฐานะการเงินก่อน หากสถาบัน ไม่ปล่อย  ทางผู้ประกอบการก็อาจไม่ขายเครดิต ให้ลูกค้ารายนั้นก็ได้   ถือว่าการวิเคราะห์เครดิตไม่ผ่าน  เป็นการกลั่นกรองคุณภาพลูกหนี้การค้า  ช่วยให้โอกาสเกิดหนี้สูญลดน้อยลง  ช่วยเพิ่มคุณภาพสินทรัพย์ของกิจการ
      เมื่อเบิกเงินจากแฟ็กเตอริงได้แล้ว  ก็นำเงินไปซื้อวัตถุดิบได้เลย  เช่น  ซื้อเงินสดได้ส่วนลด 2%  ลด Cost  ได้อีกต่างหาก

      ประโยชน์อื่นๆ ของแฟ็กเตอริง ใช้ต่อยอดได้อย่างเช่น



     ใช้เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน  เช่น  คู่แข่งปล่อยเครดิตเทอมเพิ่มจาก 30 วัน เป็น 60 วัน ถ้าหากเราอยู่เฉยก็จะสูญเสียตลาดให้คู่แข่ง  เราสามารถเพิ่มเครดิตเทอมเพื่อแข่งขันได้  เนื่องจากเรานำลูกหนี้การค้าไปทำแฟ็กเตอริงได้  จึงสามารถแปลงลูกหนี้การค้าเป็นเงินสดกลับมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจได้ทันที  ไม่ต้องรอเก็บเงินนานๆ  ไม่เดือดร้อน.

     
   

   



ความคิดเห็น

  1. มีคำถามจากผู้ประกอบการว่า ถ้าหากมี P/O จะขอสินเชื่อได้อย่างไร ทุกแบงก์ ทุกคนบอกว่ามีเงื่อนไข ต้องผลิตสินค้า ต้องส่งสินค้าขายให้คู่ค้าเรียบร้อยแล้ว

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่ครับ เป็นการยากที่จะมีสถาบันการเงินใด ปล่อยสินเชือ โดยใช้ P/O มา back up แต่ขณะนี่้มีความหวังใหม่ให้กับชาว SME แล้ว

      ลบ
  2. ถ้าหากจะเปิดบริษัทใหม่ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อแฟคตอริ่ง จะต้องเริ่มต้นอย่างไร รวมถึงรายละเอียดต่างๆต้องทำยังไงครับ

    ตอบลบ
  3. การขอเปิดธุรกิจ factoring ไม่ต้องขอใบอนุญาตผ่านแบ็งก์ชาติ
    ธปท. ไม่ได้ตีความว่าเป็นสถาบันการเงิน เนื่องจากไมได้รับฝากเงินจากประชาชน แบ็งก์ชาติจึงไม่ได้กำกับควบคุมเหมือน ธนาคารพาณิชย์
    เราถือได้ว่าเป็นการให้บริการทางการเงินรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า non-bank ก็ได้
    หากอยากจะเปิดธุรกิจนี้ หัวใจสำคัญ คือ การบริหารความเสี่ยง สาเหตุหนึ่ง คือ มีความเสี่ยงสูง และ ไม่มีหลักประกัน มีแต่การโอนสิทธิฯ ในลูกหนี้การค้า ครับ ถ้าทำธุรกิจนี้อย่างเดียวความเสี่ยงจะกระจุกตัวเกินไป ดังนั้น
    ส่วนใหญ่ ถ้าไม่ใช่ ธนาคาร (ที่สามารถกระจายความเสี่ยงได้เนื่องจากมีหลายผลิตภัณฑ์ และ สามารถใช้หลักประกันอื่นมา cover ความเสี่ยงได้) หรือ สถาบันที่มีเครือข่ายกว้างขวาง และมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่เข้มแข็ง มักไม่ค่อยทำกัน
    อีกกรณีที่พอทำได้สำหรับผู้ที่มีทุนจำกัด คือ ทำโดยจำกัดขอบเขตเฉพาะธุรกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือ ที่รู้จักกันดี ซึ่งเราสามารถควบคุมความเสี่ยงได้

    สรุป คือ ต้องตระเตรียมด้าน บุคคลากร, ระบบ ต่างๆ รวมทั้ง ไอ.ที. ,ฐานลูกค้า และ เครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่พร้อมรับมือ ครับ.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Mismatching fund ปัญหาที่ SMEs ควรหลีกเลี่ยง

SME : EDUCATION ข้อสอบเข้า ป.1 สาธิตราม

ACCOUNT RECEIVABLE