หลักการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับ SMEs
หลักการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับ SMEs
ในยุคที่หลายคนบอกว่าเป็นยุค Thailand 4.0 , digital economy , disruptive , fintech
หลักการวิเคราะห์งบการเงินของแต่ละอุตสาหกรรม
เทคนิค คือ ให้ไปหาบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันกับบริษัทที่เราต้องการวิเคราะห์
ซึ่งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั้น อัตราส่วนทางการเงินใช้เป็นฐาน หรือ benchmark ในการคำนวณได้
เนื่องจากบริษัทในตลาดฯ มีระบบบัญชีที่ผ่านการตรวจสอบจาก ผู้สอบบัญชีระดับประเทศ
และถูกกำกับดูแลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ก.ล.ต.
รวมทั้งมีระบบการควบคุมภายในที่เชื่อถือได้ และมีบรรษัทภิบาลที่ชัดเจน ตรวจสอบได้
ถ้าเทียบกับบริษัทนอกตลาดฯ โดยเฉพาะ SMEs เช่น เรื่องการหลีกเลี่ยงภาษี โดยการตกแต่งรายการทางบัญชี ซึ่งเป็นที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลายในธุรกิจ SMEs
ยกตัวอย่างธุรกิจ
garment/apparel ที่มีแบรนด์ของตัวเองเปรียบเทียบ 3 บริษัท
- บริษัท A ใหญ่สุด ยอดขาย 8 พันล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้น 45% อัตรากำไรสุทธิ 3%
- บริษัท B ใหญ่เป็นอันดับ 2 เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยอดขายต่อปี 4,000 ล้านบาท
อัตรากำไรขั้นต้น 40% อัตรากำไรสุทธิ 20%
- บริษัท C เล็กสุด ยอดขาย 2 พันล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้น 50% อัตรากำไรสุทธิ 2%
***จะเห็นว่า Net Profit Margin ของบริษัทในตลาดฯ สูงกว่าอีก 2
บริษัทที่อยู่นอกตลาดฯ มาก คือ 20%
แม้ว่าจะมีศักยภาพที่ต่างกัน
ผู้บริหารต่างกัน ฯลฯ แต่การที่เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่น
มีแบรนด์ของตนเองเหมือนกัน ย่อมตั้งสมมุติฐานได้ว่าไม่น่าจะต่างกันมากนัก
สรุป :
ประมาณการได้ว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรม garment/apparel มี Net
Profit Margin 20% หรือ
+ - นิดหน่อย
ดังนั้นเราจึงใช้อัตราส่วนทางการเงินนี้
ไปเป็นฐานในการประมาณการผลประกอบการของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น บริษัท A ยอดขาย
8 พันล้านบาท ควรมีกำไรสุทธิ 1,600
ล้านบาท หรือ บริษัท C ยอดขาย 2
พันล้านบาท ควรมีกำไรสุทธิ 400
ล้านบาท ก็จะทำให้เห็นภาพที่แท้จริงของผลประกอบการชัดเจนขึ้น
ครับ รวมทั้งสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อยอดได้.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น