เรียนความรู้ด้านการเงิน Free by Mister Universal
จากการที่ได้มีโอกาสให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการธุรกิจมากมาย
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
จนผมเริ่มเปลี่ยนสีแล้ว
จึงคิดว่าอยากจะแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ให้กับผู้สนใจ จะเป็นประโยชน์กว่านั่งจิบกาแฟ
ทอดอารมณ์อยู่คนเดียวเป็นไหนไหน
วันนี้จะมาแนะนำ
ทางรอดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และ ขนาดกลาง ในยุคเศรษฐกิจรำวงสาละวันเตี้ยลงแบบทุกวันนี้
นั่นคือ วิชา
การวางแผนการเงินเบื้องต้น
STEP 1 : ให้ประมาณการ
แหล่งที่มา และ
ประมาณการแหล่งใช้ไปของเงินทุน ก่อน
เมื่อควบคุมกระแสเงินตรงนี้ได้
จึงค่อยต่อยอดไปข้างหน้า.
โจทย์แรกๆ ของผู้ประกอบการก็คือ จะทำโครงการนี้ ต้องใช้เงินเท่าไร.............. และ
จะหาเงินจากไหนมาลงทุน.................
เพื่อจะทำกำไรได้ จำนวนเท่านี้................ ภายในระยะเวลากี่............... วัน (เดือน)
เช่น
ธุรกิจผู้รับเหมาก่อสร้าง และ ผู้รับเหมาติดตั้งงานระบบอาคาร
มีโครงการต้องทำงานติดตั้งระบบอาคาร
4 แห่ง โดยต้องติดตั้งระบบอาคารของห้างสรรพสินค้า 4 สาขา
แห่งละ 50 ล้านบาท
รวมเป็นเงิน 200 ล้านบาท
ถ้าคิดต้นทุน 80% ประมาณว่าต้องใช้เงินลงทุน 80%*200 ล้านบาท
เท่ากับ 160 ล้านบาท
คำถามแรก
จะหาเงินจำนวนนี้มากจากไหน
คำตอบที่หนึ่ง ก็คือ
ขอสินเชื่อจากธนาคาร/สถาบันการเงิน คำตอบที่สองคือ
มีเงินพอ ไม่ต้องกลัว หรือ รวยแล้ว ไม่ต้องกู้ (ถ้าคำตอบนี้ คุณได้สิทธิ์ที่จะไม่ต้องอ่านต่อแล้ว)
หากการทำงานใช้ระยะเวลา 8 เดือน กำหนดส่งงานทุกสิ้นเดือน
เพื่อประเมินความก้าวหน้าของงาน และ จ่ายเงินตามความสำเร็จของงานเป็น % ถ้าเอาต้นทุนรวมหารด้วย 8 เดือน 160 หาร 8 เท่ากับ
ต้องลงทุนเดือนละ 20 ล้านบาท
หากระยะเวลาจ่ายเงินตามเครดิตเทอมของผู้ว่าจ้าง 2 เดือน ดังนั้น ต้องมีเงินทุนจมในลูกหนี้การค้า
เท่ากับเงินทุนที่จมในลูกหนี้การค้าต่อเดือนคูณจำนวนเดือนเครดิตเทอม 20*2 เท่ากับ 40 ล้านบาท ดังนั้นต้องใช้วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน วงเงิน
40 ล้านบาท จึงจะพอเพียงในการดำเนินธุรกิจ
สมมุติส่งเอกสารไปที่ธนาคารขอเบิกวงเงินกู้ไปใช้ 20 ล้านบาท
พอปลายเดือนได้รับเงินค่าจ้างมา
ก็นำมาชำระคืนวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน วงเงินก็มี room ว่าง สามารถเบิกเงินกู้ก้อนใหม่ออกมาใช้ ทำอย่างนี้จึงสลับกันไป ก็จะหมุนเวียนเงินได้เพียงพอกับปริมาณเงินที่ต้องลงทุนในธุรกิจ
ผู้ประกอบการทำตารางแบบนี้ขึ้นมาเลย
และใช้วางแผนกระแสเงิน
แหล่งที่มาของเงินทุน (ล้านบาท)
|
แหล่งใช้ไปของเงินทุน (ล้านบาท)
|
เงินทุนกิจการ 80
กู้สถาบันการเงิน
|
ค่าวัสดุก่อสร้าง
ค่าแรงงาน
ค่าน้ำมัน
ค่าน้ำ, ค่าไฟ
ค่าดอกเบี้ยเงินกู้
ค่าภาษี
|
รวม 80
|
รวม
160
|
เงินขาดมือ -80
|
|
จึงต้องกู้สถาบันการเงิน
80
|
คำถามสอง ต้องขอสินเชื่ออย่างไร วงเงินสินเชื่อเท่าใด
หากผู้ประกอบการไม่มีหลักประกันเป็นที่ดิน,อาคาร หรือ
เครื่องจักร อาจใช้เป็น วงเงินสินเชื่อ Factoring โดยนำอินวอยซ์+ใบวางบิล ที่เป็น ลูกหนี้การค้า กัน นำมาโอนสิทธิ ให้สถาบันการเงิน factoring ทำการปล่อยสินเชื่อ หรือ เปลี่ยนอินวอยซ์จากหนี้การค้า ให้เป็นเงินสด
เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจนั่นเอง พอถึงกำหนดชำระทาง finance เข้าก็จะถือเอกสาร+ใบเสร็จรับเงินไปรับเช็ค(หรือเงินโอน)ที่ลูกหนี้การค้าได้เลย
โดยเราไม่ต้องกังวลเรื่องแหล่งที่มาของการชำระว่า ถ้าเรากู้ไปใช้จนหมดแล้ว จะไปหาเงินจากแหล่งไหนมาชำระ ก็คือ
สินเชื่อนี้จะชำระด้วยตัวของมันเอง.
วงเงินเท่าไร ให้ดูวิธีคำนวณที่แสดงแล้ว ด้านบน เป็นอันเข้าใจง่ายๆ จบ.
หมายเหตุ : โปรดสังเกตุว่าความต้องการเงินกู้รวม
80 ล้านบาท แต่เราไม่ต้องกู้ในคราวเดียว 80
ล้านบาท ค่อยๆ
ทะยอยกู้ไปตามยอดเบิกเงิน หรือ ยอดเงินที่ลงทุนไปนั่นเอง พอเบิกเงินกู้มา ถึงปลายเดือนเก็บเงินได้ ก็ชำระคืนสลับกันไป ยอด
80 ล้านบาท นี้คือยอดเงินกู้ที่เบิกสะสมทั้งโครงการ
ปัญหาที่พบ
ผู้รับเหมามักขาดการวางแผนการเงินล่วงหน้า หรือ มีเพียงแผนหลัก ไม่มีแผนสำรอง
ทางแก้ ต้องมีการวางแผน
กำหนดตัวเงิน เป็นเป้าหมายที่ชัดเจน และ มีแผนหลัก แผนสำรอง ไว้เผื่อฉุกเฉินด้วย
เพราะส่วนมากที่ธุรกิจจะล้ม มักเกิดจาก
เหตุการณ์ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และ
ไม่มีแผนสำรองเข้ามารองรับ หรือ เข้ามาแก้ไข
สรุป คือ พยายามบริหารการเงิน ระหว่าง แหล่งใช้ไป กับ แหล่งที่มา ให้
match กัน นั่นเอง
Step 2 : ขั้นต่อไป
เมื่อประมาณการ Source of fund & Use of fund ได้ และ control กระแสเงินได้แล้ว
ขั้นต่อไป คือ Margin ตั้งเป้าหมายกำไร และ ควบคุมกำไร ให้ได้ตามนั้น
ถ้าไม่ได้ตามเป้าหมาย ต้องเข้าไปค้นหาสาเหตุว่ามาจากจุดใด รั่วไหลตรงไหน
หาทางปิดจุดอ่อนนั้นให้ได้ คุณจะทำกำไรได้ตามเป้าหมาย
จบข่าว.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น