ทำไม Factoring ในประเทศไทย จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ?

1. ไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควรในฐานะที่เป็นแหล่งสนับสนุนสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ SME โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกัน แต่ใช้เพียงการโอนสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้การค้าเท่านั้น/ขาดการกำกับดูแล จากหน่วยงานภาครัฐ เช่น ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะตีความว่าไม่ถือว่าเป็นสถาบันการเงิน เนื่องด้วย ไม่มีการรับฝากเงินจากประชาชน 2. ปัญหาแจ้งโอนสิทธิ*ไม่ได้ (*สิทธิเรียกร้องในลูกหนี้การค้า) เนื่องจากธุรกิจขนาดใหญ่ Top 10 ของแต่ละ industry ส่วนใหญ่ ไม่มีนโยบายรับแจ้งโอนสิทธิ รวมถึงหน่วยราชการบางหน่วยงานก็ไม่รับแจ้งโอนสิทธิ 3. ปัญหาผู้กู้ fraud ปลอมเอกสารการค้า invoice มากู้ ทำ double finance หรือ duplicated เอกสาร invoice ยื่นกู้หลายสถาบัน ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสีย 4. ปัญหาข้อมูล black list ของผู้กู้ที่มีปํญหา ไม่สมบูรณ์ เช่น หากผู้กู้สิบแปดมงกุฎรายหนึ่ง ทำอินวอยซ์ปลอมไปกู้ Factoring จากสถาบัน ก. จนเกิดปัญหาหนี้เสีย จากนั้น ผู้กู้ก็ปลอมเอกสารแบบเดิมไปกู้จาก สถาบัน ข. และ สถาบัน ค. โดยสถาบันอื่น ไม่ทราบเรื่องเลย ว่าผู้กู้ fraud กับสถาบัน ก. ทำให้เกิดความเสี่ยงในหมู่สถาบัน (หมายเหตุ: เนื่องจากสถาบันที่ประกอบธุรกิจ Factoring ที่เป็น Non-bank ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกเครดิตบูโร) 5. ปัญหา พนักงานผิดพลาด ขาดประสบการณ์ หรือ ทุจริต ทำให้ไม่สามารถคัดกรองความเสี่ยง เช่น เอกสารปลอมได้ ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียตามมา จึงขอเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ดังนี้ * สร้าง platform factoring เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้สมาชิกมีแหล่งกลางในการทำธุรกิจ มีทิศทาง มีรูปแบบที่่ชัดเจนในการปล่อยสินเชื่อ มีระบบข้อมูลที่สมบูรณ์ ลดความเสี่ยงจากการปลอมเอกสาร * มีศุนย์ข้อมูลการแจ้งโอนสิทธิฯ แต่ละสถาบัน สามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลได้้ และใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงได้ * สร้างศูนย์ข้อมูล Black lists ผู้กู้ ให้ทุกสถาบันมีข้อมูลที่สมบูรณ์เหมือนกัน ป้องกันความเสี่ยงจากผู้กู้ปลอมเอกสารยื่นกู้ หรือผู้กู้ที่เป็นหนี้เสีย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Mismatching fund ปัญหาที่ SMEs ควรหลีกเลี่ยง

SME : EDUCATION ข้อสอบเข้า ป.1 สาธิตราม

ACCOUNT RECEIVABLE