บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

เทคนิคการทำงาน และ พัฒนาศักยภาพของพนักงาน ภายใน 10 วัน ด่วน

เทคนิคการทำงาน และ พัฒนาศักยภาพของพนักงาน ภายใน 10 วัน ให้พนักงานแต่ละคนทำเป้าหมาย และ วงจรการพัฒนาคุณภาพงาน  PDCA ของตนเอง นาย ………………………………….. แผนก / ฝ่าย ………………………… Step 1 : ตั้งเป้าหมายการทำงาน Step 2 :  แบ่งเป้าหมายเป็นงานชิ้นใหญ่ๆ  และ แบ่งงานชิ้นใหญ่ๆ  เป็นงานชิ้นย่อยๆ Step 3 :   วางแผนงาน Step 4 :   ลงมือทำงานตามแผนงาน Step 5 :   ตรวจสอบการทำงาน Step 6 :   นำผลการทำงานที่ได้มาจริง  เปรียบกับแผนที่วางไว้   และนำข้อแตกต่างมาปรับปรุงกระบวนการทำงาน ให้พนักงานแต่ละคนทำการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของตนเอง Internal scanning                                                               External  scanning S TRENGTH O PPORTUNITY W EAKNESS T HREAT Strategy : กลยุทธ์ในการทำงานที่ใช้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ ………………………………………………………………………….

ROAD TO SUCCESS FOR SME

SMEs : road   to   success ข้อจำกัดที่ทำให้   SMEs   ไม่ประสบความสำเร็จขั้นเทพ  พูดง่ายๆ คือ  ไปไม่ถึงดวงดาว      ทำไม SMEs   คิดว่าที่ทำมา ก็ประสบความสำเร็จที่สุดแล้ว แต่ความเป็นจริงเป็นเช่นนั้นหรือ SMEs   ที่ผ่านยุคก่อร่างสร้างตัวมาแล้ว   จนกระทั่งมาถึงจุดที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง   เริ่มลืมตาอ้าปากได้ หากมองย้อนไปในอดีตก่อนที่จะฝ่าฟันอุปสรรค ไปถึงความสำเร็จ                 ยกตัวอย่างเช่น   ในช่วงก่อตั้งกิจการแรกๆ โรงงานยังเล็กอยู่   ก็จะใช้การเช่าโรงงาน   เพื่อไม่ต้องลงทุนมาก มักใช้ประสบการณ์ของเจ้าของกิจการ เช่น จบวิศวะ เครื่องกล และเคยทำงานในโรงงานญี่ปุ่น   ด้านแม่พิมพ์ยานยนต์   เป็นต้น   ดังนั้นในช่วงเริ่มกิจการ ก็จะลำบากหน่อย ไปซื้อวัตถุดิบจากใคร   ก็ต้องซื้อเงินสด   เขาเห็นเป็นโรงงานเล็ก เพิ่งตั้ง   ก็ไม่กล้าให้เครดิตเทอม   จะไปขอสินเชื่อ Bank   งบการเงิน   ก็ยังกะพร่อง กะแพร่งอยู่   เปิดมาไม่ถึง 3 ปี กำไรก็ยังติดลบอยู่ ทุนจดทะเบียนก็แค่   1   ล้านบาท   ก็ยากที่ผ่านการพิจารณาจาก   Bank    ส่วนใหญ่ต้องพึ่งแหล่งเงินทุนนอกระบบ หรือหยิบยืมจากนักธุรกิจในวงก

Mismatching fund ปัญหาที่ SMEs ควรหลีกเลี่ยง

Mismatching   fund ปัญหาที่ SMEs ควรหลีกเลี่ยง ******************************************************************************************************** Source of fund & use of fund   ที่ไม่สอดคล้องกัน ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางการเงิน และหากสะสมเป็นปัญหาใหญ่ อาจนำไปสู่ความล้มเหลวทางการเงินได้                           2 กรณี ตัวอย่าง         กรณีที่ 1 นำเงินกู้ O/D ไปซื้อเครื่องจักร / ซื้อที่ดิน             เป็นการนำแหล่งที่มาจากเงินทุนระยะสั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว             “Short-term source invest in Long-term Assets” มีความเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่อง เนื่องจาก O/D ต้องชำระในระยะสั้น วัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ ควรนำไปซื้อวัตถุดิบที่จะผลิตสินค้าแล้วขายเป็นเครดิตเทอม 60 วัน ก็จะหมุนกลับมาเป็นเงินสด นำมาชำระลดยอดหนี้ O/D ได้ ภายในรอบการผลิต ไม่ต้องมียอดเงินกู้ค้างนาน เป็นการลดภาระต้นทุนทางการเงิน   ในขณะที่การลงทุนในเครื่องจักร / ที่ดิน   เหมาะที่จะใช้แหล่งที่มาจากเงินกู้ประจำมากกว่า ซึ่งจะมีเงื่อนไขต้องผ่อนชำระทุกเดือนเป็นเวลา 60 งวด = 5 ปี เป็

แฟ็กเตอริง หรือ แฟคตอริ่ง : FACTORING สินเชื่อแฟ็กเตอริงเพื่อผู้ประกอบการ SMEs

Factoring : แฟคตอริ่ง : แฟคเตอริ่ง : แฟ็กเตอริง           ผู้ประกอบการ SMEs สามารถใช้ประโยชน์จากลูกหนี้การค้า ซึ่งเงินทุนไปจมอยู่   2 เดือน หรือ 3   เดือน   ก็แล้วแต่กรณี   แปลงให้เป็นเงินสดได้ทันที     โดยนำอินวอยซ์   ที่ส่งของ และ วางบิลเรียบร้อยแล้ว   มาโอนสิทธิเรียกร้องให้ สถาบันการเงินผู้ให้บริการแฟ็กเตอริง   ทางสถาบันฯ หลังจากตรวจสอบ   transaction การซื้อ - ขาย ว่ามีการส่งของเรียบร้อยแล้ว ปริมาณและคุณภาพงานครบถ้วน   ตาม  P/O    เจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ สามารถ verify จากลูกหนี้การค้าได้ว่าจะจ่ายเงินค่าสินค้า หรือ บริการ ในวันครบกำหนด   Credit Term   รวมทั้งสามารถแจ้งโอนสิทธิเรียกร้อง   ไปยังลูกหนี้การค้าได้ ก็จะจ่ายเงินสินเชื่อ เรียกว่า   เงิน Advance ให้ ทันที   ในอัตรา   80%   ของมูลค่าอินวอยซ์           หลังจากได้รับเงินกู้มาแล้ว ผู้ประกอบการ จะนำไปจ่ายค่าแรง , ค่าน้ำ , ค่าไฟฟ้า   ก็แล้วแต่จะจัดสรร   ส่วนผู้ปล่อยสินเชื่อก็จะรอจนครบกำหนด Credit Term   เช่น   60   วัน    ออกอินวอยซ์   วันที่ 1   เมษายน   ก็ส่งเจ้าหน้าที่ collector ไปเก็บเงินแทนลูกค้า ในวันท